หากมองเศรษฐกิจระดับประเทศ ทุกวันนี้ นโยบายการเร่งการส่งออกแบบ “บ้าคลั่ง” ไม่ว่าจะเป็นการเปิด FTA การขายหุ้นในกิจการต่าง ๆ ให้ต่างชาติ เพื่อจุดประสงค์ “ได้เงิน(ใส่กระเป๋าบางตระกูลจนไม่มีที่เก็บ)” หรือ “เร่ง GDP(ได้หน้าได้ตา แต่ชาวไร่ชาวนา ตายหา)”
นักวิชาการหลายคนเตือนว่า เร่งแต่ส่งออก แล้วการนำเข้าไม่ลด เมื่อไร เมื่อนั้น ประเทศไทยก็จนอยู่ดีแหล่ะ
เช่นเดียวกับทรัพยากรอาคาร
เป็นที่รู้กันว่า ในธุรกิจ หรือ วงการราชการ หากมีนโยบายในการลดค่าใช้จ่ายแล้ว ค่าใช้จ่ายด้าน “อาคารสถานที่” เป็นรายการแรก ๆ ที่จะถูกตัดงบประมาณ (ยกเว้นงานสร้างอาคาร ซื้อเครื่องต่าง ๆ ที่จะได้ค่าคอมมิสชั่น ที่มักจะคงที่เสมอนะครับ)
ถูกต้องแล้ว ที่การลดรายจ่าย จะเป็นนโยบายที่มีแนวคิดที่ถูกต้อง แต่ในรายละเอียดในทางที่จะเดินไป อาจเดินไม่ถูกทางบ้าง เดินไปแล้วเหนื่อยบ้าง หรือไม่มีทางให้เดินบ้าง เช่น
ค่างานทำความสะอาด มักจะโดนก่อนเลย ทำความสะอาดจากวันละหน ก็อาจเหลือ สอง สามวันหน ได้มีการคิดจริง ๆ จัง ๆ กันหรือไม่ว่า พนักงานทำความสะอาดแบบไหน ประหยัดคุ้มค่ากว่ากันระหว่างจ้างประจำ หรือจ้างบริษัท
งานซ่อมบำรุง การลดงบประมาณ อาจทำให้งานเริ่มค้าง จนเป็นดินพอกหางหมู อุปกรณ์เมื่อไม่ได้ซ่อมบำรุงอย่างเต็มที่ จะมีการใช้ไฟฟ้าเปลืองกว่าปกติ หรือ “การซ่อมเมื่อเสีย” มีแนวโน้มจะต้องโละทิ้งเร็วกว่า อุปกรณ์ที่ได้รับการซ่อมและบำรุงตามระยะเวลาที่เหมาะสม
ท่ามกลางแนวโน้มที่ค่าไฟจะแพงขึ้น ๆ การรณรงค์ ประหยัดไฟ ก็ได้ผลในระดับหนึ่ง ด้วยการปิดเครื่องปรับอากาศ ปิดไฟ เดินระหว่างชั้นแทนการใช้ลิฟท์ หรือแม้แต่การตั้งธงประกวดหน่วยงาน หรือ แผนกใด ประหยัดไฟได้ ให้มารับรางวัล แต่การที่ใบเสร็จเก็บเงินค่าไฟซับซ้อนกว่าที่จะแยกแยะออกมาให้รางวัลได้ ก็เป็นอุปสรรค์อันหนึ่ง
ประหยัดค่าน้ำ เลือกก๊อกน้ำแบบผสมฟองอากาศ หรือ เซรามิควาวล์(ที่ประเทศไทยผลิตเองได้แล้วนะ ไม่ต้องนำเข้า) เปลี่ยนสุขภัณฑ์เก่า ๆ เป็นแบบประหยัดน้ำ หลากหลายวิธีการลดการใช้น้ำที่แม้ยังไม่แปรรูปการประปา แต่ได้ยินข่าวว่า จะมีการเก็บภาษีการบำบัดน้ำแล้ว (ซึ่งผมเห็นด้วยอย่างยิ่ง) แต่ค่าน้ำที่สูญเสียมากอีกจุดที่ไม่ได้ตรวจสอบกันคือ การรั่วซึม ไม่ว่าจะเป็นในอาคาร หรือ บริเวณนอกอาคารที่เราดูไม่มีทางรู้
ฯลฯ
การหารายได้จากอาคาร เช่นการเปิดห้องประชุมให้คนนอกเช่าช่วงเย็นวันธรรมดา หรือวันเสาร์อาทิตย์ เพื่อหารายได้ อาจจะยากต่อการยอมรับในหลายหน่วยงาน หรือคิดเงินค่าเช่าจากหน่วยงานในองค์กรกันเอง เพื่อบังคับให้ใช้พื้นที่อย่างคุ้มค่า (Charge Back) ก็ยังห่างไกลที่เราจะนำแนวคิดนี้มาใช้กันอย่างจริงจัง ด้วยเหตุผลทางการเมืองภายใน และภายนอก
มีหลายคนกล่าวว่า ผู้ที่จะเรียน FM นั้น น่าจะเป็นผู้ที่เมื่อเห็นการใช้ทรัพยากรอย่างไม่คุ้มค่า จะทนไม่ได้
ผมขอแสดงตน แบบถ่อมตัวว่า ผมเป็นคนนึงที่เป็นแบบนี้มานานแล้ว
"ประหยัดไฟ ประหยัดน้ำ ประหยัดพื้นที่ จะประหยัดชาติได้นะครับ จริง ๆ ผมเชื่อ"
คุณ "สิทธัตถะ เอมเมอรัล" TGT3
11 years ago
1 comment:
There are many schools in the US offer B.S. in Facility Management i.e. Bringham Young University, Provo, UT, Pratt Institute of Technology, NYC. and many more that you can search through the International Facility Management Association website at www.IFMA.org. I think FM is very interesting subject that we could use it for almost everything to optimize the organization's resources.
Post a Comment