Sunday, April 08, 2007

IT กับ FM, 1+1 ไม่เท่ากับ 2

วิธีการเพื่อบรรลุอรรถประโยชน์ ในการผสานฝ่าย IT กับ FM
ฝ่ายบริหารอาคาร กับ ไอที หากทำงานประสานกัน จะเกิดประโยชน์มากมาย เหมือนเป็นการพิสูจน์คำพูดที่ว่า "หนึ่งบวกหนึ่ง ไม่เท่ากับสอง"
แต่การประสานงานกันนั้น ต้องมีวิธีการที่จะได้บรรลุประโยชน์เหล่านั้นมา เช่น วิธีการสื่อสารกันระหว่างแผนก วิธีการวางแผนร่วมกัน ฯลฯ ซึ่งประโยชน์เหล่านี้ จะไม่เป็นเพียงประโยชน์ต่อองค์กร แต่จะกลับกลายเป็น "ประโยชน์สุข" ให้กับผู้ทำงานทุกฝ่ายได้ด้วย

เริ่มที่ความต้องการพื้นฐาน
สำหรับฝ่ายไอที งานส่วนหนึ่งคือการดูแลรักษาอุปกรณ์ไอที เช่น เซิฟเวอร์ คอมพิวเตอร์ สายเคเบิล ฯลฯ หากมองในแง่ ความต้องการภายใต้สภาพแวดล้อมกายภาพ ของอุปกรณ์เหล่านั้น คือ
"ระบบไฟฟ้า" ที่พอเพียง และแน่นอนสม่ำเสมอ "อุณหภูมิ และความชื้น" เพื่อให้ระบบสามารถระบายความร้อนจากอุปกรณ์ได้ เพื่อให้ทำงานได้อย่างไม่มีปัญหา และลดความเสียหายจากความร้อน "พื้นที่ในการวางอุปกรณ์ และสายเคเบิล"
สำหรับฝ่ายอาคาร ที่ต้องวางแผนการใช้พื้นที่ เพื่อรองรับการขยายตัว ควรสื่อสารกับฝ่ายไอที โดยคาดการณ์การขยาย ของระบบ และอุปกรณ์ต่างๆ ไว้ล่วงหน้า โดยต้องคำนึงถึงมิติของ พื้นที่ และระบบสนับสนุน เช่นระบบไฟฟ้า ระบบปรับอากาศ ไว้ล่วงหน้าด้วยพร้อม ๆ กันในการเดินสายเคเบิล คงไม่ดีแน่ที่ ในสำนักงานหนึ่ง มีสายเคเบิลระโยงระยางไปทั่วอย่างไม่มีระเบียบ ความต้องการอาจต้องพบกันที่จุดใดจุดหนึ่ง ระหว่าง เส้นทางที่สั้นที่สุด กับเส้นทางที่เป็นระเบียบ โดยทั้งหมดนี้ สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยการสื่อสารซึ่งกันและกันระหว่างทั้งสองฝ่าย

การสื่อสาร "พูดภาษาเดียวกัน"
การพูดภาษาเดียวกัน เป็นกุญแจอันหนึ่งในการสื่อสารให้เข้าใจกัน โดยทั้งสองแผนก ควรศึกษาพื้นฐานความรู้ ของซึ่งกันและกัน
การที่ฝ่ายไอที รู้ถึงข้อจำกัดของระบบปรับอากาศ การระบายอากาศ ระบบไฟฟ้า หรือ รู้คำศัพท์ง่ายๆ เช่น BTU หรือ Main Braker หรือ ขนาดโหลดของตู้ไฟฟ้ากำลัง ฯลฯ และการที่ฝ่ายบริหารอาคาร ทราบถึง ชนิด และข้อจำกัดต่างๆ ของทางฝ่าย IT หรือศัพท์พื้นฐานง่ายๆ เช่น สาย CAT5 ที่นิยมใช้ในการต่อระบบ LAN หรือ ชนิด Server ต่างๆ จะทำให้การสื่อสารระหว่างทั้งสองฝ่ายเร็ว และถูกต้องแม่นยำขึ้น

การสื่อสารที่ดีนี่เอง เป็นการลบช่องว่าง ที่มักจะเกิดขึ้นในการประสานงานของการทำงานที่มักจะเป็นแบบแบ่งแยกแผนกกัน
ผลจากการที่มีการสื่อสารที่ดี การตัดสินใจใดๆ ก็จะมีความถูกต้อง แม่นยำขึ้นไปด้วยในที่สุด ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อคุยกันรู้เรื่อง และต่างฝ่ายต่างเข้าใจในข้อจำกัดของแต่ละฝ่ายแล้ว
ประโยชน์ขององค์กร และ ความสุขในการทำงานร่วมกัน
ย่อมเกิดขึ้นได้อย่างไม่ยาก