Friday, November 05, 2010

CRISIS MANAGEMENT กับภัยพิบัติระดับชาติ

หากเรามอง Facilities จากที่เราคุ้นเคยในระดับอาคารสถานที่
มาเป็นระดับเมือง ระดับประเทศดู
...
Published with Blogger-droid v1.6.5

Wednesday, February 10, 2010

รถ “เข็ญ” กระเป๋า ณ สุวรรณภูมิ

เมื่อวานไปส่งแขกต่างประเทศที่สนามบินมาครับ

สังเกตได้ชัดเจนมาก ว่า เวลาเข็นรถเข็นบนทางเชื่อมจากอาคารจอดรถและอาคารผู้โดยสาร จะมีเสียงดังกว่าปกติมาก

เสียงดังที่ว่า เกิดจากการสั่นของตัวรถเข็น และพื้นเหล็ก

เมื่อเข็นกระเป๋าขึ้นทางลาดเลื่อนอัตโนมัติระหว่างชั้นสามและสี่ ในอาคารผู้โดยสาร รถเข็นไม่สามารถล๊อกติดกับพื้นได้อีกแล้ว
มันเลื่อนลงมาเกือบทับผมเอง หากจับไม่ทัน ก็คงเลื่อนลงไปโดนภรรยาตั้งครรภ์ของผม ซึ่งน่าจะเกิดอันตรายได้

ซึ่งทั้งอาการสั่นเสียงดัง และรถเข็นเลื่อนตามทางเลื่อนลาด ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

ผมเลยสอบถามพนักงานเก็บรถเข็น ก็ได้ความว่า

“สัญญากำลังจะเปลี่ยน ในอีกสามวัน ช่วงนี้บริษัทเลยไม่ซ่อมรถเข็นที่เสียแล้ว”

ผมมองไปรอบๆ เห็นรถเข็นที่ชาวต่างชาติใช้เข็นไปมา มีสภาพเสียงดัง และล้อหน้าเบี้ยวๆ อยู่เป็นจำนวนมาก

ผมเลยสอบถามกับพนักงานคนอื่นๆ ดู ได้ความอีกว่า

“เมื่อกี้ก็มีฝรั่งโดนรถเข็นไหลทับที่ทางลาดเลื่อนอัตโนมัติ โวยวายกันใหญ่เลย”
พนักงานท่านตอบแบบสีหน้ายิ้มๆ และเรียบๆ

“หลังๆ นี้เกิดบ่อยขึ้นใช่ไหม” ผมถามต่อ

“อีกสามวันก็เปลี่ยนบริษัทใหม่แล้ว เขาเลยไม่ยอมเอาไปซ่อม”

 

--------

คาดการณ์ได้ว่า เหตุการณ์นี้ เกิดขึ้นเป็นปกติมาระยะนึงแล้ว และกลายเป็นเรื่องปกติกันไปแล้ว

อีกสามวัน ก่อนรถเข็นใหม่มา สนามบินแห่งชาติของเราจะมีคนมาใช้อีกหลายหมื่นคน

คงจะมีรถเข็นไหลมาทับนักท่องเที่ยวอีกวันละ 30-40 ครั้งต่อวัน

--------

เวลาเดินเข้าไปในสนามบิน ในหัวผม มันมีแต่คำว่า

- สัมปทานแบบไม่โปร่งใส

- บริหารงานแบบแยกส่วน ตัวใครตัวมัน

- การตัดสินใจแก้ปัญหาแบบไม่มีความรู้ และไม่เป็นวิทยาศาสตร์

ลอยอยู่ในหัว

 

ไปดูสนามบินต่างชาติเขา ก็ได้แต่อิจฉา

พอฟังผู้บริหารระดับสูงของการท่าฯ

ป่าวประกาศว่าจะทำสนามบินฯ เรา ให้ติดอันดับโลก

ผมก็ได้แต่หัวเราะในใจว่า

ถ้าไม่ยัดเงิน ชาตินี้ ไม่มีทางได้หรอกครับ

----------

สุดท้ายนี้

ก็ได้แต่ขอคุณพระศรีฯ และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ดลบรรดาลให้

อย่าให้ใครมาเป็นอันตรายจากอาคารสนามบินของเราด้วยเถิด…

และหากเขาเกิดบาดเจ็บ เป็นอันตราย

ก็ขอให้ การท่าอากาศยานไม่โดนฟ้องด้วยเถิด….

(เพราะถ้าโดนฟ้อง มันก็เงินพวกเรานั่นแล…)

Saturday, November 07, 2009

ตึกเขียวที่สูงที่สุด

Taipei 101 จะกลายมาเป็นตึกเขียวที่สูงที่สุดในโลก

แม้ว่าจะเสียเข็มขัดแชมป์ อาคารสูงที่สุดในโลกให้กับอาคาร Burj Dubai อย่างไม่เป็นทางการไปแล้ว

อาคาร Taipei 101 ก็ไม่ยอมแพ้ โดยประกาศตัวว่าจะเป็นอาคารเขียวที่สูงที่สุดในโลกให้ได้

โดยคุณ Harace Lin ประธานบริษัท Taipei Financial Center Corporation (TFCC) เจ้าของอาคาร

ได้ให้ข่าวเมื่อวานนี้ (2009-11-03) ว่า ทางบริษัทมีแผนจะเข้าโปรแกรมของ LEED (Leadership in Energy and Environment Design)

โดยจะลงทุนกว่า 1.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สำหรับงานปรับปรุงหลายร้อยรายการ เพื่อให้เข้าเกณฑ์ต่างๆ ภายใน 18 เดือน ของ LEED

หลังจาการแปลงร่างอาคาร Taipei 101 ประมาณการว่าจะลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน กว่า 0.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี

คุณ Lin ยังกล่าวว่า

“เราอาคารอยากจะเป็นตัวอย่างระดับนานาชาติ ของการปกป้องสิ่งแวดล้อม และความรับผิดชอบต่อสังคม

ทีมบริหารต้องการสร้างสัญลักษณ์(Icon) ให้กับธุรกิจอาคารเขียวในไต้หวัน และในระดับโลก

และในฐานะอาคารที่สูงที่สุดในโลก อาคารนี้จะกลายเป็นเครื่องมือที่จะปลุกสำนึกการรักษาสิ่งแวดล้อมกับผู้คนทั่วไป

และยังจะเป็นผู้บุกเบิกการทำอาคารเขียวหลังการก่อสร้าง (Existing Building หรือ LEED-EB) ระดับสากล”

ข่าวจาก http://www.etaiwannews.com/etn/news_content.php?id=1097555〈=eng_news&cate_img=logo_taiwan&cate_rss=TAIWAN_eng

ได้รับลิงค์โดย IFMA-International Facility Management Association

-----------------

อ่านข่าวนี้ ก็รับรู้กันโดยทั่วไปว่า มีการปนเปื้อนโฆษณามากมายนะครับ

ซึ่ง LEED เขาก็เก่งด้านการตลาดทำให้คนติดงอมแงมกับกระแสนี้กันทั้งโลกได้

แต่อย่างไรก็ต้องยอมรับว่า เขาก็ทำให้กระแสอาคารเขียวจับต้องได้กว่ามาตรฐานอื่น

มองมาที่ประเทศไทยเรา

โครงการระดับชาติหลายโครงการเริ่มได้กลิ่นว่าน่าจะได้รับการแจกมาตรฐาน อีทท ในไม่ช้านี้

มาตรฐาน อีทท หรือ EEAT (Eat Every Atom of Thailand – มาตรฐานกินมันทุกอณู ตั้งแต่ระดับนโยบายยันกรรมกร)

:(

ไปดูไบ ไปปีหน้าดีกว่า

ข่าวจากนครดูไบ สหรัฐอาหรับอิมิเรต ว่า คงจะต้องรอกันถึงต้นปีหน้านะครับ สำหรับตึกที่สูงที่สุดในโลกแห่งใหม่

โครงการ Burj Dubai ได้กำหนดวันเปิดใหม่เป็นวันที่ ๔ มกราคม ๒๕๕๓ ซึ่งล่าช้ากว่าที่กำหนดไว้เดิมประมาณ ๑ เดือน โดยวันเปิดจะตรงกับวันคล้ายวัน ชีคมูฮัมเมด บิน ราชิล อัล มาคทูม รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นปีที่สี่

โดยเมื่อไม่ถึงเดือนที่ผ่านมา คุณมูฮัมมัด อัลแอบบา ประธานบริษัท Emaar Properties บริษัทผู้พัฒนาโครงการที่ได้รับการสนับสนุนโดยรัฐ บอกกับสำนักข่าวซีเอ็นเอ็นว่า เขาหวังว่าโครงการ Burj Dubai จะสามารถเปิดให้ทันวันชาติของสหรัฐอารับอิมิเรตคือวันที่ ๒ ธันวาคม นี้โดยทางบริษัทได้ทำการเร่งการก่อสร้างอย่างเต็มที่

โครงการ Burj Dubai (ความหมายว่า Dubai Tower ในภาษาอาราบิค) เริ่มโครงการเมื่อห้าก่อน และก่อสร้างอย่างต่อเนื่อง และรวดเร็ว ในเดือนมกราคม ๒๕๕๐ แรงงานกว่า ๓๐๐๐ คน (ส่วนมากมาจากประเทศอินเดีย) ได้สร้างอาคารเสร็จกว่าหนึ่งร้อยชั้น นั่นหมายความว่า พวกเขาสามารถสร้างชั้นใหม่ได้ทุกๆ สามวัน

อาคารนี้ตั้งอยู่ในพื้นที่ใจกลางของ Dubai ที่มีพื้นที่กว่า ๑๒๖๐ ไร่ ซึ่งจะกลายเป็นพื้นที่อยู่อาศัย และเจตเศรษฐกิจ ตัวอาคารยังล้อมรอบไปด้วยอาคารสูงเสียดฟ้าใหม่จำนวนมาก และรวมไปถึงศูนย์การค้าขนาดใหญ่ที่สุดในตะวันออกกลาง

ตัวได้สร้างถึงความสูง ๕๑๒ เมตรในฤดูร้อนปี ๒๕๕๐ ซึ่งมากกว่าอาคาร Taipei 101 ซึ่งครองตำแหน่งอาคารสูงที่สุดในโลก ณ ปัจจุบันที่กรุงไทเป ประเทศไต้หวัน แต่โครงการนี้ยังจะสูงกว่า ๘๐๐ เมตร (ยังไม่ยืนยันความสูงเมื่อสร้างเสร็จ) แหล่งข่าวจากบริษัทสัญชาติเยอรมัน Emporis ผู้รับผิดชอบก่อสร้างโครงการนี้ ได้ให้กล่าวว่า อาคารนี้จะมีความสูงที่ ๘๑๘ เมตร

โดยการติดตั้งผนังอลูมิเนียมและกระจกเพิ่งเสร็จสิ้นเมื่อเดือนที่แล้วนี่เอง (ตุลาคม ๒๕๕๒) หากนับพื้นที่ของผนังกระจกส่วน façade อาคารนั้น ก็มีมากกว่า ๑ ล้านตารางฟุต หรือประมาณ ๙๒,๙๐๓ ตารางเมตร เทียบเท่าพื้นที่ ๑๔ สนามฟุตบอลเลยทีเดียว

ซึ่งอาคารนี้ นับเป็นอาคารที่มีพื้นที่ใช้งานที่สูงที่สุดในโลกเช่นกัน
ได้ทำ FM โครงการนี้คงสนุกไม่น้อยนะครับ

แปลข่าวจาก http://www.chicagotribune.com/business/sns-ap-ml-dubai-worlds-tallest-tower,0,3419871.story?obref=obnetwork
Link by IFMA

Tuesday, October 27, 2009

หมู่บ้านโดนขโมยขึ้นบ้าน เกี่ยวยังไงกับ FM

วันหนึ่ง ทางหมู่บ้านอันแสนสงบของผม ก็ส่งจดหมายแจ้งเตือนลูกบ้านว่า ช่วงนี้มีเหตุการณ์โจรกรรมบ่อยครั้งขึ้น

มาตรการของทางกรรมการหมู่บ้าน คือ จัดทำสติกเกอร์ติดรถ พร้อมแจ้งเตือนถึงอาจจะเกิดความไม่สะดวกกับลูกบ้านในการเข้าออก

รวมถึงการให้เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยกวดขันมากขึ้น

การตัดสินใจของกรรมการหมู่บ้าน อาจจะถูกต้องก็ได้ แต่ต้องเกิดภายใต้สมมติฐานที่ว่า

1.มิจฉาชีพ มาทางรถ และมักจะเป็นรถจากคนนอกเท่านั้น

2.มิจฉาชีพ จะไม่ทำการหากมียามเดินไปเดินมาบ่อยขึ้น

สิ่งที่จะตัดสินใจ อาจส่งผลกระทบคือ การที่ รปภ.เดินมากขึ้น เหนื่อยมากขึ้น หากยังใช้กำลังคนเท่าเดิม เทคโนโลยีเดิม

หากการตัดสินใจแก้ปัญหาโดยการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยไม่มีพื้นฐานของข้อมูล มีผู้เปรียบไว้ว่า เหมือนอริยสัจ 2 กล่าวคือ ทุกข์ แล้ว มรรค เลย

ซึ่งจะนำไปสู่ความสูญเสีย และไม่มีประสิทธิภาพ

-------------------

บังเอินว่าในจดหมายของกรรมการหมู่บ้าน ได้เปิดช่องให้เสนอความคิดเห็นไว้ด้วย ผมในฐานะลูกบ้าน และพอจะรู้เรื่อง FM บ้าง เลยนำเสนอดังนี้

สำหรับเหตุการลักขโมย หรือโจรกรรมที่เกิดขึ้น เราควรเก็บข้อมูลเรื่องการโจรกรรม เช่น บ้านโซนใด ซอยใด โดนไปบ้าง และมักจะโดนช่วงวันไหน ช่วงไหน เวลาอะไร เสาร์อาทิตย์ หรือวันธรรมดา รวบรวมเป็นแผนที่ และแสดงให้เห็นจุดต่างๆ ถ่ายรูปบ้านลักษณะที่เกิดเหตุ

เมื่อเรารวบรวมแล้ว จะสามารถวิเคราะห์หาที่มา ที่ไป และวิธีการบริหารจัดการหมู่บ้านของเราได้ เช่น ผู้ร้ายมักเข้ามาทางหลังคาด้วยการงัดแผ่นหลังคา และเจาะทะลุฝ้า มิจฉาชีพจะปีนเข้ามาตามรั้วที่เตี้ยกว่า 2 เมตร และมักใช้เส้นทางระหว่างบ้านกับบ้าน ฯลฯ หรือการรวบรวมข้อมูลของบ้านที่มักจะตกเป็นเป้าหมายของคนร้าย เช่น บ้านกลางซอยที่เป็นทางผ่าน (มีข้อมูลจากการวิจัยว่าบ้านซอยตัน โอกาสโดนโจรกรรมน้อยกว่าบ้านที่เป็นซอยผ่าน) ไม่มีเลี้ยงสุนัข รั้วทึบ (มีข้อมูลจากการวิจัยอีกว่า บ้านมีรั้วโปร่งมีโอกาสถูกการโจรกรรมน้อยกว่ารั้วทึบ) มีรถจอดหน้าบ้าน ฯลฯ

ซึ่งหลังจากวิเคราะห์แล้ว จะนำไปสู่การทำเป็นข้อเสนอแนะให้แก่บ้านต่างๆ ในหมู่บ้านเป็นข้อมูลพื้นฐานแบ่งเป็นสามช่วงดังนี้

1.ช่วงการป้องกันเหตุการณ์ เช่น การเปิดหน้าบ้าน การเลี้ยงสุนัข การทำรั้วโปร่ง ฯลฯ

2.ช่วงการประสบเหตุการณ์ เช่น เมื่อรู้ว่ามีผู้ร้ายเข้ามาในบ้านต้องทำอย่างไร เช่น การเปิดไฟสว่าง การส่งเสียงดัง การหลบเข้าห้องที่ปลอดภัย ฯลฯ

3.ช่วงการฟื้นฟูเหตุการณ์ เช่น การแจ้งตำรวจ การเก็บหลักฐาน การป้องกันเหตุเกิดซ้ำ ฯลฯ

ข้อมูลจากการวิเคราะห์นั้น ยังนำไปสู่การจัดการบริการของหมู่บ้านด้วย เช่น จุดล่อแหลมต่างๆ ที่จำเป็นต้องเพิ่มกำลัง และอัตราการปรากฎตัว เพื่อลดโอกาสการเกิดเหตุร้าย ณ เวลาดังกล่าว บริเวณดังกล่าว

การเพิ่มความอุ่นใจระหว่าง เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย กับผู้อาศัยในหมู่บ้านก็เป็นเรื่องสำคัญ การทำจดหมายที่มีภาพ แสดงชื่อ ความเชี่ยวชาญ ความสามารถพิเศษ หรือแค่การแนะนำตัวกับลูกบ้านหรือแม้กระทั่งการติดป้ายชื่อเล่นบนหน้าอก ให้ลูกบ้านรู้จักชื่อเจ้าหน้าที่ในขณะที่ทำหน้าที่ปกป้องพวกเรา ก็เป็นการเพิ่มโอกาสปฏิสัมพันธ์ สร้างความคุ้นเคยและเป็นมิตรมากขี้นได้ทางหนึ่ง

การจัดการอาจต้องผนวกเรื่องคน สถานที่ และกระบวนการ มองให้เป็นภาพรวมสำหรับการแก้ปัญหา อาจจะกลับเข้ามาสู่ความมีเหตุผล ที่มาที่ไป ซึ่งจะลดความสูญเสีย และมีประสิทธิภาพได้แน่ๆ ครับ

FM หนึ่งในเก้า มหัศจรรย์ 'สูตรกู้ชาติ

ได้อ่านข่าวจาก เวบไซด์กรุงเทพธุรกิจมากครับ กล่าวถึงหลักสูตรที่จะกู้ชาติได้

อ่านข่าวตัวจริงได้ที่นี่เลยครับ

http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/business/business/20090705/57397/เปิด-9-หลักสูตร-กู้ชาติ.html

ข้อสรุปจากข่าวคือ มี 9 หลักสูตรที่จบมาแล้วมีงานทำ และเป็นหน้าที่ที่สังคม ประชาชนต้องการ มีดังนี้

  1. หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต หรือ MBA
  2. หลักสูตรเกี่ยวกับการกีฬา
  3. หลักสูตรสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่  (Entrepreneurs)
  4. หลักสูตรโลจิสติกส์และซัพพลายเชน (Logistics & Supply chains)
  5. หลักสูตรภาษาจีนธุรกิจ
  6. หลักสูตรการออกแบบกราฟฟิกและแอนิเมชัน
  7. การบริหารจัดการด้านอาหาร หรือ Food Management
  8. หลักสูตรการจัดการธุรกิจอาหาร
  9. Facility Management

ตามข่าวกล่าวถืง FM ว่า "...อีกหนึ่งหลักสูตรที่ยังใหม่มากในไทย แต่ต่างประเทศเริ่มมีการเปิดสอนคือ Facility Management หรือ การบริหารจัดการอาคาร ภายในแนวคิดที่ว่า ทำอย่างไรให้การใช้อาคารนั้นๆ เกิดประโยชน์สูงสุด คุ้มค่าสูงสุด เป็นศาสตร์ด้านการบริหารที่ต้องศึกษา..."

FM ก็ได้รับเกียรติอันนี้ไปเต็มๆ อีกทีหนึ่ง แต่ไปๆ มาๆ อ่านแล้ว ก็ยังไม่เห็นทิศทางในภาพรวมของข่าวนี้ ว่าต้องการนำเสนออะไร

เหมือนเราจะฮิต และอิงกระแสอยู่ในหลายเรื่อง เช่น ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ กราฟฟิกแอนิเมชั่น อาหาร การกีฬา ทั้งๆ ที่แต่ละเรื่องไม่ใช่กระแสเลย

กลับต้องเป็นเรื่องที่รณรงค์กันอย่างจริงจัง เสริมจุดแข็ง เยียวยาจุดย่อยประเทศเราให้ได้

FM จะช่วยในเรื่องจัดการทรัพยากรให้ใช้อย่างคุ้มค่า ลดความศูนย์เสียได้อย่างมหาศาล ทั้งยังเสริมจุดแข็ง สร้างภาพลักษณ์ในมิติต่างๆ ขององค์กรได้

ตามข่าวยังนำเสนอเรื่องคุณธรรม ซึ่งต้องมีในทุกเรื่องเช่นเดียวกัน ซึ่งแน่นอนอยู่แล้วว่าต้องเป็นคนดี

จริงๆ แล้วน่ารณรงค์อาชีพนักการเมือง ให้มีคุณธรรมก่อนเลย อาชีพเดียว สูตรเดียว กู้ชาติได้ทันทีเลย

จริงไหมครับ

Thursday, July 02, 2009

FM กับ EGAT

ได้มีโอกาสไปบรรยายเรื่อง Facility Management ที่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิต (EGAT) มาครับ

ได้รับเชิญโดยฝ่ายบริการ ก่อนบรรยาย ได้ได้ทราบข้อมูลว่า ฝ่ายบริการ เป็นฝ่ายสนับสนุนทางด้านดูแลพื้นที่อาคาร ดูแลจัดการเฟอร์นิเจอร์ บริการที่เกี่ยวเนื่อง เช่น การจัดจ้างคนทำความสะอาด การจัดจ้างคนสวน ฯลฯ การจัดรถขนส่ง ทั้งหมดในพื้นที่ของ กฟผ. ที่บางกรวย

ทั้งหมดมีคนทำงานกว่าหมื่นคน เป็นเมืองขนาดย่อมๆ ได้เลยทีเดียว

ดูภายนอก สิ่งแวดล้อมภายในพื้นที่ของ กฟผ. สะอาด ดูดี น่าอยู่มากแห่งหนึ่ง

เมื่อได้พูดคุยกับทางผู้ปฏิบัติในฝ่ายบริการ น่าดีใจมากๆ ที่องค์กรขนาดใหญ่อย่าง EGAT ได้มีการใช้แนวคิดด้าน FM มาอยู่ก่อนแล้วนานพอสมควร

ที่ผมดีใจ ก็เพราะว่า องค์กรระดับใหญ่ขนาดนี้ เมื่อการใช้แนวคิด FM จะมีผลกระทบต่อสังคม และประเทศอย่างมาก ตั้งแต่การประหยัดงบประมาณ (คือเงินภาษีของพวกเรา) การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ

ผมได้คุยกับสถาปนิกของ EGAT คุณวรพจน์ คุณนัฎ คุณวีโรภาส เป็นสถาปนิกสามรุ่นสามวัย พอพูดคุยด้วยแล้ว เขามีแนวคิดทางด้านนี้อยู่มากพอสมควร เช่น

- การทำ Material Inventory โดยวัสดุประกอบอาคารทั้งหมด ได้มีการทดสอบ หาความคุ้มค่าด้านต้นทุน ไม่ใช่แค่ซื้อของถูก แต่ต้องเปลี่ยนกันบ่อยๆ เหมือนหน่วยงานราชการทั่วๆ ไป

- การทำ Space Staindard ว่า พนักงานระดับไหน มีมาตรฐานการครอบครองพื้นที่ และครุภัณฑ์อะไร

- การทำ Space Inventory ว่า ฝ่ายใด แผนกใด ครอบครองพื้นที่อยู่ที่ได้ มีระบบการ Charge Back เพื่อให้ทราบต้นทุนที่แท้จริงในแต่ละเรื่อง

- ฯลฯ

ซึ่งเห็นได้ว่า ทาง EGAT ได้ใช้แนวคิด FM มาจับกับงานที่ทำมานานแล้ว เพียงแต่เขายังไม่แน่ใจว่า สิ่งที่เขาทำนั้น เป็น FM หรือไม่

กุญแจของผู้ทำงานด้านนี้ คือ หากเมื่อไร เขาเปลี่ยนการทำงานเชิงรับ ที่ทำงานประจำวัน รับปัญหา แก้ปัญหาไปวันๆ เปลี่ยนไปเป็นการทำงานเชิงรุก ที่ป้องกันปัญหา เริ่มมีบทบาทในการวางนโยบาย และควบคุมทิศทางการบริหารมากขึ้น

ส่วนวิธีจะเปลี่ยนการทำงานเชิงรับ มาเป็นเชิงรุก ผมวิเคราะห์ว่า จำเป็นต้องอาศัย สามสิ่งคือ

1.Goal and Strategies
เป้าหมาย คือสิ่งที่เราอยากจะเป็น หรือเราฝันอยากจะเป็น แต่ก่อนหน้านั้น อาจต้องรู้ก่อนว่าเราอยู่ที่ไหน การทำ SWOT การวิเคราะห์หาจุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส อุปสรรค์ เพื่อหาวิธีนำจุดแข็ง โอกาส มาช่วยแก้ไขจุดอ่อน และก้าวข้ามผ่านอุปสรรค์ให้ได้

2.Participation
ความร่วมมือของคนทำงานเป็นพลังหลักที่ทำให้เราสามารถไปถึงจุดหมายได้ ความร่วมมือจากหลายๆ ระดับ เช่น ระดับบริหารเห็นด้วยไหม? หัวหน้าเอาด้วยไหม? ระดับปฏิบัติมีความศรัทธา มีความเชื่อ มีความหวังกับเราด้วยไหม? อาจต้องจัดตั้งรางวัล มีการลงโทษสำหรับคนไม่ทำดีด้วย

3.Information Management
เราจะจัดการอะไรไม่ได้เลย หากเราไม่รู้ว่าเรามีอะไรให้จัดการบ้าง ทรัพยากรเราอยู่ตรงไหนบ้าง และอะไรเป็นสิ่งเร่งด่วนจะต้องทำ จะต้องเริ่มตั้งการการเลือกเก็บข้อมูล การจัดการข้อมูล และสุดท้าย การทำ Knowledge Management หรือ การทำ R&D ซึ่งผมเรียกว่า มันเป็น “เรื่องของ “คนว่างงาน” ที่จะช่วยให้มีคนว่างงานอีกเยอะ”

สามสิ่งนี้หากเพียงได้เริ่มทำ สิ่งที่เราจะเห็นคือ การใช้แนวคิดทางด้าน FM ได้อย่างเต็มที่ และผลของมันคือการใช้สอยทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ การใช้จ่ายงบประมาณอย่างตรงประเด็นขึ้นมาก ซึ่งผลดีก็ตกอยู่กับพวกเรา หรือเจ้าขององค์กรนั่นเอง

Tuesday, March 24, 2009

FM ภาษาไทย ใช้คำว่าอะไรดีครับ?

ผมเคยคิดเล่นๆ
มีการถกเถียงถึงการประดิษฐ์คำไทยๆ ที่ใช้เรียก Facility Management ว่าจะเป็นอย่างไร?

ก่อนอื่น มาดูอาชีพใกล้เคียงก่อนดีกว่า

"Engineering" ทำไมเท่ากับ "วิศวกรรม"

คำว่า Engineering นี้แปลมาจากภาษาลาตินว่า “engenium” ซึ่งแผลงว่าความสามารถตามธรรมชาติ (หรือความเป็นอัจฉริยะที่ติดตัวมาโดยกำเนิด)
หรือการคิดประดิษฐ์สิ่งใหม่ๆ คำว่า ingenium นี้แผลงมาจากศัพท์เดิมว่า “eignere” หรือ “genere”
ซึ่งแปลว่า ผลิต ประดิษฐ์ สร้าง หรือทำให้เกิดขึ้น

สำหรับภาษาไทย ที่มีความเชื่อทางฮินดูอยู่แต่โบราณมา
เทพที่ทำงานสายตรง และใกล้เคียงที่สุดคือ
พระวิศวกรรม หรือเรียกได้อีกหลายชื่อว่า พระวิษณุกรรม พระวิสสุกรรม พระเวสสุกรรม หรือ พระเพชรฉลูกรรม
ท่านเป็น เทวดานายช่างใหญ่ของพระอินทร์
ตามตำนานกล่าวว่า เป็นผู้สร้างเครื่องมือ สิ่งของต่าง ๆ ให้เกิดขึ้น และเป็นแบบอย่างให้กับมนุษย์สืบมา

ภาษาไทย จึงนำพระวิษณุกรรม เป็นผู้สร้าง ตามพระบัญชาของพระอินทร์ มาเป็น "วิศวกรรม"


-------------


"Architecture" ทำไมเท่ากับ "สถาปัตยกรรม"

The word "architecture" comes from the Latin architectura and that from Greek αρχιτέκτων (architectu), "master builder", from the combination of αρχι- (archi-), "chief" or "leader" and τέκτων (tekton), a "builder" or "carpenter".
แปลเป็นไทยจากรากลาติน Architecture อาจแปลว่า "หัวหน้าช่างไม้"

คำว่าสถาปัตยกรรม มาจากภาษาสันสกฤต ว่า
สฺถาปตฺย + กรฺมนฺ
‘สฺถาปตฺย’ คือ การวาง,การกำหนดหรือที่อาศัย
‘กรฺมนฺ’ คือ การกระทำ


-------------

กลับมาที่ Facility Management จะเท่ากับอะไร?

คำว่า “Facility” ว่าคือ สิ่งที่ทำหน้าที่ให้ความสะดวก หรือสิ่งที่ทำให้สิ่งที่ยาก เป็นสิ่งที่ง่ายขึ้น เพราะมาจากรากศัพท์ Facilitate ที่แปลว่า ความง่าย ความสะดวก การทำให้ง่าย การทำให้สะดวก

คำว่า “จัดการ” (Manage) การจัดการ (Management) คำศัพท์คำนี้มีรากศัพท์มาจากภาษาลาตินที่เขียนว่า Manus ซึ่งหมายถึง มือ

แปลแบบยาวๆ ตรงๆ อาจแปลได้ว่า
"การจัดการสิ่งอำนวยความสะดวก"
ยาว และไม่เก๋เลยครับ

หากมาลองใส่ความเชื่อแบบฮินดู (แบบคำว่า "วิศวกรรม")
ที่ใกล้เคียงที่สุดกับอาชีพของ FM น่าจะเป็น
พระวิษณุ หรือ พระหริ ท่านมีหน้าที่ดูแลทั้งสามโลกให้อยู่ในความเรียบร้อย และสมดุล
หรือ พระวิษณุ ทำทั้ง Facilitate และ O&M นั่นเอง

เมื่อสมาสผูกคำกับ อคาร หรือ อาคาร

วิษณุ+อาคาร = "วิษณาคาร"

หรือ วิษณุ+กรรม = "วิษณากรรม"

Facility Manager อาจเป็น
"วิษณากร"


มาลองร่วมคิดกันดูนะครับ

Thursday, January 01, 2009

กรณีซานติก้า ผับ

และแล้ว ปีใหม่ก็มีข่าวเศร้าๆ สำหรับวงการของเราอีกครั้งนะครับ

ไม่ต้องผับ หรือบาร์ รวมถึงอาคารสาธารณะอื่นๆ ด้วย
กรณีเทียบเคียงที่ใกล้ที่สุดที่ผมนึกออกคือ กรณี ไฟไหม้ไนท์คลับ ชื่อ Station Nightclub fire ที่ West Warwick, Rhode Island ประเทศสหรัฐอเมริกา
เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2546 มีผู้เสียชีวิต 100 คน (ในที่เกิดเหตุ 96 คน และที่โรงพยาบาลอีก 4 คน) มีผู้บาดเจ็บมากกว่า 200 คน
ผับเป็นชั้นเดียว โครงสร้างไม้
ไฟเกิดจากการแสดงบนเวที เรียกว่า Pyrotechnics effect ตอนเล่นคอนเสริต (คล้ายๆ กับดอกไม้ไฟ มีสเก็ดไฟพุ่งออกมา)



แต่แล้วสเก็ดไฟที่ออกมา ไปโดนวัสดุซับเสียง ที่เป็นวัสดุติดไฟ
ไฟลามขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่วงดนตรีกลับเล่นต่อ ผู้คนยังเฮฮาไปอีกกว่ายี่สิบวินาทีก่อนที่วงดนตรีจะหยุดเล่น
ไม่ถึงนาที ทั้งผนังเวทีลุกเป็นไฟ พร้อมกันกับ Fire Alarm ดังขึ้น ทำให้ผู้คนแตกตื่นในอันตราย
แม้จะมีประตูหนีไฟทั้งสี่ทาง แต่เกือบทั้งหมดวิ่งไปที่ประตูหน้า


แน่นอนว่า ผู้เสียชีวิตมากที่สุดนั้น อยู่ที่ประตูนี่เอง
นี่คือภาพแสดงผังอาคาร และจำนวนผู้เสียชีวิต


และแล้ว ปีใหม่ก็มีข่าวเศร้าๆ สำหรับวงการของเราอีกครั้งนะครับ

ไม่ต้องผับ หรือบาร์ รวมถึงอาคารสาธารณะอื่นๆ ด้วย
กรณีเทียบเคียงที่ใกล้ที่สุดที่ผมนึกออกคือ
กรณี ไฟไหม้ไนท์คลับ ชื่อ Station Nightclub ที่ West Warwick, Rhode Island ประเทศสหรัฐอเมริกา
เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2546 มีผู้เสียชีวิต 100 คน
(ในที่เกิดเหตุ 96 คน และที่โรงพยาบาลอีก 4 คน) มีผู้บาดเจ็บมากกว่า 200 คน
อาคารเป็นชั้นเดียว โครงสร้างไม้
ไฟเกิดจากการแสดงบนเวที เรียกว่า Pyrotechnics effect ตอนเล่นคอนเสริต (คล้ายๆ กับดอกไม้ไฟ มีสเก็ดไฟพุ่งออกมา)



ผู้เสียชีวิตมีสาเหตุจาก ไฟคลอก สำลักควัน และเหยียบกันตาย

การสอบสวนหลังเกิดเหตุพบว่า
- วัสดุซับเสียงที่เกิดไฟไหม้นั้น กลับเป็นโฟมที่น่าจะนำไปใช้ในบรรจุภัณฑ์ มากกว่าจะนำไปทำวัสดุซับเสียง และวัสดุไม่มีส่วนผสมของสารหน่วงไฟ (fire-retardant materials) ที่ใช้กันในโฟมสำหรับซับเสียง จากพยานกล่าวว่า ไฟลุก และลามในอัตรา 1 ฟุต ต่อ 1 วินาที

- การตรวจที่เกิดเหตุของ NIST (National Institute of Standards and Technology) ใช้การจำลองเหตุการสรุปว่า การติดตั้ง Sprinkler System จะเพิ่มเวลามากขึ้นในการอพยพหนีไฟ เดิมเข้าใจว่า อาคารนี้สร้างตั้งแต่ปี 1946 ทำให้ยกเว้นการติดตั้ง Sprinkler System
แต่ในความเป็นจริงนั้น อาคารได้ถูกดัดแปลงประโยชน์ใช้สอยจากร้านอาหารมาเป็นไนท์คลับ ทำให้เข้าสู่ข้อบังคับ แต่ผู้รับผิดชอบคือ West Warwick fire inspectors กลับเพิกเฉยในการบังคับใช้กฏหมาย

ที่มา
http://en.wikipedia.org/wiki/The_Station_nightclub_fire
----------------------------------------------------------

ผมได้ดูสารคดีในกรณีนี้ จากทางช่องสารคดีช่องหนึ่ง
ช่วงหนึ่ง มีการสัมภาษณ์ผู้อยู่ในที่เกิดเหตุ เขาเล่าถึงความน่ากลัวที่ว่า
ทางออกกว้างจริง แต่เมื่อคนวิ่งมาอัดกันที่ประตู กลับทำให้คนแน่นอยู่ที่ประตู และออกไม่ได้เลยสักคนเดียว


กลับมาที่ประเทศไทย
แน่นอนว่า ปัญหามา ปัญญาต้องมี
กฏหมายเรื่องความปลอดภัยสาธารณะส่วนใหญ่ มีที่มาจากชีวิตคน ความสูญเสีย และคราบน้ำตาทั้งสิ้น

จากกรณีศึกษา อาจนำมาซึ่งการพูดคุยในหัวข้อต่างๆ ดังนี้
- การกำหนดจำนวนคนในสถานบริการ พร้อมบทลงโทษอย่างเคร่งครัด และมีมาตรการตรวจสอบในการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ หรือการนำอำนาจหน้าที่ไปกลั่นแกล้งผู้ประกอบการ
- การมีทางหนีไฟ และการแจ้งให้ผู้เข้าใช้อาคารทราบถึงตำแหน่ง และเส้นทาง เช่น การบังคับระหว่างการพักความสนุกสนาน แจ้งข้อมูลให้นักเที่ยวทราบถึงข้อมูลเหล่านี้
- ระบบป้องกันเพลิงไหม้ และระบบการตรวจสอบความพร้อมใช้งานอย่างจริงจัง (มากกว่าการตรวจด้วยสายตา)
- การใช้วัสดุตกแต่งที่ไม่ลามไฟ ซึ่งต้องตรวจมากกว่าการขออนุญาติแค่ตัวโครงสร้าง และตัวอาคารภายนอก
- ฯลฯ

วัวหายล้อมคอก ก็ต้องรีบล้อมนะครับ ก่อนจะไม่มีวัวให้ล้อ