ไม่ต้องผับ หรือบาร์ รวมถึงอาคารสาธารณะอื่นๆ ด้วย
กรณีเทียบเคียงที่ใกล้ที่สุดที่ผมนึกออกคือ กรณี ไฟไหม้ไนท์คลับ ชื่อ Station Nightclub fire ที่ West Warwick, Rhode Island ประเทศสหรัฐอเมริกา
เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2546 มีผู้เสียชีวิต 100 คน (ในที่เกิดเหตุ 96 คน และที่โรงพยาบาลอีก 4 คน) มีผู้บาดเจ็บมากกว่า 200 คน
ผับเป็นชั้นเดียว โครงสร้างไม้
ไฟเกิดจากการแสดงบนเวที เรียกว่า Pyrotechnics effect ตอนเล่นคอนเสริต (คล้ายๆ กับดอกไม้ไฟ มีสเก็ดไฟพุ่งออกมา)
แต่แล้วสเก็ดไฟที่ออกมา ไปโดนวัสดุซับเสียง ที่เป็นวัสดุติดไฟ
ไฟลามขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่วงดนตรีกลับเล่นต่อ ผู้คนยังเฮฮาไปอีกกว่ายี่สิบวินาทีก่อนที่วงดนตรีจะหยุดเล่น
ไม่ถึงนาที ทั้งผนังเวทีลุกเป็นไฟ พร้อมกันกับ Fire Alarm ดังขึ้น ทำให้ผู้คนแตกตื่นในอันตราย
แม้จะมีประตูหนีไฟทั้งสี่ทาง แต่เกือบทั้งหมดวิ่งไปที่ประตูหน้า
แน่นอนว่า ผู้เสียชีวิตมากที่สุดนั้น อยู่ที่ประตูนี่เอง
นี่คือภาพแสดงผังอาคาร และจำนวนผู้เสียชีวิต
และแล้ว ปีใหม่ก็มีข่าวเศร้าๆ สำหรับวงการของเราอีกครั้งนะครับ
ไม่ต้องผับ หรือบาร์ รวมถึงอาคารสาธารณะอื่นๆ ด้วย
กรณีเทียบเคียงที่ใกล้ที่สุดที่ผมนึกออกคือ
กรณี ไฟไหม้ไนท์คลับ ชื่อ Station Nightclub ที่ West Warwick, Rhode Island ประเทศสหรัฐอเมริกา
เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2546 มีผู้เสียชีวิต 100 คน
(ในที่เกิดเหตุ 96 คน และที่โรงพยาบาลอีก 4 คน) มีผู้บาดเจ็บมากกว่า 200 คน
อาคารเป็นชั้นเดียว โครงสร้างไม้
ไฟเกิดจากการแสดงบนเวที เรียกว่า Pyrotechnics effect ตอนเล่นคอนเสริต (คล้ายๆ กับดอกไม้ไฟ มีสเก็ดไฟพุ่งออกมา)
ผู้เสียชีวิตมีสาเหตุจาก ไฟคลอก สำลักควัน และเหยียบกันตาย
การสอบสวนหลังเกิดเหตุพบว่า
- วัสดุซับเสียงที่เกิดไฟไหม้นั้น กลับเป็นโฟมที่น่าจะนำไปใช้ในบรรจุภัณฑ์ มากกว่าจะนำไปทำวัสดุซับเสียง และวัสดุไม่มีส่วนผสมของสารหน่วงไฟ (fire-retardant materials) ที่ใช้กันในโฟมสำหรับซับเสียง จากพยานกล่าวว่า ไฟลุก และลามในอัตรา 1 ฟุต ต่อ 1 วินาที
- การตรวจที่เกิดเหตุของ NIST (National Institute of Standards and Technology) ใช้การจำลองเหตุการสรุปว่า การติดตั้ง Sprinkler System จะเพิ่มเวลามากขึ้นในการอพยพหนีไฟ เดิมเข้าใจว่า อาคารนี้สร้างตั้งแต่ปี 1946 ทำให้ยกเว้นการติดตั้ง Sprinkler System
แต่ในความเป็นจริงนั้น อาคารได้ถูกดัดแปลงประโยชน์ใช้สอยจากร้านอาหารมาเป็นไนท์คลับ ทำให้เข้าสู่ข้อบังคับ แต่ผู้รับผิดชอบคือ West Warwick fire inspectors กลับเพิกเฉยในการบังคับใช้กฏหมาย
ที่มา
http://en.wikipedia.org/wiki/The_Station_nightclub_fire
----------------------------------------------------------
ผมได้ดูสารคดีในกรณีนี้ จากทางช่องสารคดีช่องหนึ่ง
ช่วงหนึ่ง มีการสัมภาษณ์ผู้อยู่ในที่เกิดเหตุ เขาเล่าถึงความน่ากลัวที่ว่า
ทางออกกว้างจริง แต่เมื่อคนวิ่งมาอัดกันที่ประตู กลับทำให้คนแน่นอยู่ที่ประตู และออกไม่ได้เลยสักคนเดียว
กลับมาที่ประเทศไทย
แน่นอนว่า ปัญหามา ปัญญาต้องมี
กฏหมายเรื่องความปลอดภัยสาธารณะส่วนใหญ่ มีที่มาจากชีวิตคน ความสูญเสีย และคราบน้ำตาทั้งสิ้น
จากกรณีศึกษา อาจนำมาซึ่งการพูดคุยในหัวข้อต่างๆ ดังนี้
- การกำหนดจำนวนคนในสถานบริการ พร้อมบทลงโทษอย่างเคร่งครัด และมีมาตรการตรวจสอบในการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ หรือการนำอำนาจหน้าที่ไปกลั่นแกล้งผู้ประกอบการ
- การมีทางหนีไฟ และการแจ้งให้ผู้เข้าใช้อาคารทราบถึงตำแหน่ง และเส้นทาง เช่น การบังคับระหว่างการพักความสนุกสนาน แจ้งข้อมูลให้นักเที่ยวทราบถึงข้อมูลเหล่านี้
- ระบบป้องกันเพลิงไหม้ และระบบการตรวจสอบความพร้อมใช้งานอย่างจริงจัง (มากกว่าการตรวจด้วยสายตา)
- การใช้วัสดุตกแต่งที่ไม่ลามไฟ ซึ่งต้องตรวจมากกว่าการขออนุญาติแค่ตัวโครงสร้าง และตัวอาคารภายนอก
- ฯลฯ
วัวหายล้อมคอก ก็ต้องรีบล้อมนะครับ ก่อนจะไม่มีวัวให้ล้อม