Wednesday, August 01, 2007
FM ช่วยลดภาวะโลกร้อน
ช่วยได้อย่างไรได้บ้าง มีมากมายหลายวิธี
- การใช้พื้นที่อย่างคุ้มค่า ช่วยยืดระยะไม่ให้องค์กรต้องเพิ่มการก่อสร้างอาคารใหม่ๆ ลงไปได้
- การเลือกสถานที่ตั้งของที่ทำงานให้เหมาะสมกับที่พักของพนักงาน เพื่อลดปริมาณเชื้อเพลิงในการเดินทางของพนักงาน
- การจัดการให้การจราจรเคลื่อนที่อย่างสะดวก การทำความสะอาดอย่างมีประสิทธิภาพลดการใช้สารเคมี การใช้น้ำประปาได้
- การรณรงค์การใช้ทุกอย่างอย่างมีประสิทธิภาพ
- การใช้หลอดตะเกียบแทนหลอดใส้
- การเลือกใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าเบอร์ห้า การใช้กระดาษสองหน้า
- การแยกขยะ การรีไซเคิลอย่างถูกวิธี
- การรณรงค์การซื้อสินค้าภายในประเทศและชุมชน
- การลดใช้กระดาษฟอกขาวโดยไม่จำเป็น
- การใช้พลังงานไฟฟ้าให้คุ้มค่า ด้วยการบำรุงรักษาอุปกรณ์ไฟฟ้า เครื่องปรับอากาศ
- การจัดวางเฟอร์นิเจอร์ หรือออกแบบตัวอาคารที่สามารถนำแสงจากธรรมชาติมาใช้งานให้ได้มากที่สุด
- การออกแบบตัวอาคารให้ลดภาวะการทำงานของเครื่องปรับอากาศ
- การเปิดปิดไฟฟ้า เครื่องปรับอากาศ น้ำประปา ให้คุ้มค่ากับการใช้งาน
- การบริหารการจราจรภายในองค์กรให้เหมาะสม
- ลดการเดินทางด้วยการใช้โทรศัพท์ และเพิ่มการประชุมผ่านระบบอินเตอร์เนท
ฯลฯ
ลองมามองในฐานะนักวิชาชีพบริหารอาคารดูสิครับ ว่าเราสามารถลดภาวะโลกร้อนได้มากขนาดไหน?
คำถามนี้ ไม่ใช่คำถามที่เป็นนามธรรมหากลองพิจารณาแนวคิดหรือหน่วยวัดที่เรียกว่า “รอยย่ำคาร์บอน” ที่สามารถแยกย่อยรายละเอียดออกมาเป็นหน่วยวัดในการเพิ่มภาวะโลกร้อน
แล้วจะวัดผลได้อย่างไร?
เดิมทีการช่วยโลกร้อน อาจยากที่การวัดผลอย่างที่เป็นรูปธรรม แต่ปัจจุบัน มีหน่วยในการวัดภาระการทำให้โลกร้อนแล้ว คือ “Carbon Footprint” มาช่วยเป็นหน่วยวัดค่า ให้เห็นผลความแตกต่างอย่างชัดเจนได้ในการรักษาสภาวะแวดล้อมโลก
“Carbon Footprint”
“Carbon Footprint” หรือ “รอยย่ำคาร์บอน” คืออะไร?
“รอยย่ำคาร์บอน”* เป็นหน่วยวัดผลกระทบจากกิจกรรมของมนุษย์ ในแง่ของปริมาณก๊าซเรือนกระจกถูกปล่อย โดยวัดจากหน่วยของคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ CO2
(* รอยย่ำคาร์บอน มากจากคำว่า Carbon Footprint หลายคนอาจแปลเป็นไทยว่า รอยเท้าของคาร์บอน แต่ผมของแปลว่า รอยย่ำ เพราะมันคือ รอยเหยียบที่เราย่ำ ลงบนโลก)
“รอยย่ำคาร์บอน” มาจากผลรวมจากกิจกรรมสองส่วนหลักคือ ทางตรง และทางอ้อม
“รอยย่ำคาร์บอนทางตรง” คือการที่เราปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์โดยตรงจากการเผาผลาญเชื้อเพลิงจากซากพืชซากสัตว์ รวมถึงการบริโภคไฟฟ้า และการใช้ยานพาหนะต่างๆ เช่น การใช้ไฟฟ้า การเดินทางโดยใช้เครื่องบิน
“รอยย่ำคาร์บอนทางอ้อม” คือ การปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์จากผลผลิต หรือ ผลิตภัณฑ์ที่เราใช้ โดยคำนวณร่วมกับกระบวนการผลิต เช่น การใช้ถุงพลาสติก ผลิตภัณฑ์จากโฟม ฯลฯ
กลเม็ดในการลดขนาด “รอยย่ำคาร์บอนทางตรง”
1. ลดการเดินทางโดยเครื่องบิน(บทความไม่ได้ให้เหตุผล แต่พอเดาได้ว่า การโดยสารเครื่องบิน มีต้นทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ มากกว่าการเดินทางแบบใดๆ)
2. รณรงค์การใช้พลังงานนำมาใช้ใหม่ได้ เช่น พลังน้ำ พลังลม พลังแสงอาทิตย์
3. ใช้พลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์ในการทำน้ำร้อนร้อน (ในบทความน่าจะพูดในบริบทแค่ประเทศเมืองหนาว แต่ในบริบทของประเทศไทย ลองมองว่า ไม่ต้องใช้น้ำอุ่นตอนอาบน้ำก็อาจจะได้ เพราะ ไม่เปลืองพลังงานทั้งเครื่องทำน้ำอุ่น และยังชลอการเปิดเครื่องปรับอากาศไปได้)
4. ใช้ระบบขนส่งสาธารณะให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
5. รณรงค์การใช้รถร่วมกัน
กลเม็ดลดขนาด “รอยย่ำคาร์บอนทางอ้อม”
ในการซื้อสินค้า ให้ใส่ใจกับสถานที่ที่ผลิต และกระบวนการที่ผลิตสินค้านั้นๆ กล่าวคือ ให้พยายามเลี่ยงสินค้าที่ต้องมีการขนส่งจากที่ห่างไกล และกระบวนการผลิตที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมาก เช่น
1.น้ำขวด แม้น้ำจากก๊อกจะดื่มได้ (ในบางประเทศ) แต่คนเราก็ยังจะหาซื้อน้ำดื่มที่เป็นขวดอยู่ มากกว่าน้ำ ยังเสาะหาน้ำแร่จากแหล่งห่างไกล ซึ่งเป็นการขยากขนาดรอยเท้าคาร์บอนจากการขนส่ง รวมถึงกระบวนการผลิตขวด และการนำขวดมาใช้ใหม่
2. เลี่ยงการบริโภคอาหารและเครื่องดื่มจากแหล่งห่างไกล เมื่อเดินเลือกซื้อสินค้าในตลาด จงเลือกสินค้าจากฉลากสินค้าที่ผลิตในประเทศ หรือ ประเทศในภูมิภาคเป็นอันดับต้นๆ มากกว่า สินค้าที่ผลิตจากประเทศที่ห่างไกล สุดยอดกว่านั้นคือ ปลูกเองกินเองเลย การมีต้นกล้วยหลังบ้าน ไม่เพียงเป็นผลไม้ที่รอยเท้าคาร์บอนเป็นศูนย์เท่านั้น แต่ต้นไม้ที่เราปลูก ยังช่วยลดคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ได้อีกด้วย หรือเรียกได้ว่า เป็นการลบรอยย่ำของคาร์บอน
3. การบริโภคเนื้อให้น้อยลง โดยเฉพาะ เนื้อแดง (อันนี้บทความไม่ได้ให้เหตุผล แต่เคยได้ยินว่า พวกวัวเนื้อ หมู มีการบริโภค และปล่อยของเสียที่เป็นสัดส่วนมากกว่าสัตว์ที่ให้เนื้อสีขาว อย่าง ปลา และ ไก่ หลายเท่านัก)
4. เสื้อผ้า ตอนเลือกซื้อเสื้อผ้า ให้ดูฉลากดีๆ ว่าเสื้อผ้าที่คุณใส่ผลิตที่ไหน ลองคิดถึงกระบวนการขนส่งของมันดูสิ
5. พิจารณาเรื่องหีบห่อผลิตภัณฑ์ เลี่ยงการใช้ห่อผลิตภัณฑ์ หรือแม้แต่ถุงพลาสติกหิ้ว ที่ไม่จำเป็น เช่น ถ้าซื้อของเล็กๆ น้อยๆ สามารถถือได้ ก็ไม่จำเป็นของให้คนขายใส่ถึงพลาสติก
โดยในเครื่องคำนวณ “รอยย่ำคาร์บอน” มีการให้กรอกข้อมูลหลักๆ ดังนี้
- ปริมาณไฟฟ้า
- ปริมาณเชื้อเพลิงที่ใช้
- ระยะทางการเดินทางด้วยยานพาหนะต่างๆ เช่น รถส่วนตัว ระบบขนส่งมวลชน เครื่องบิน
ที่มา http://www.carbonfootprint.com/carbon_footprint.html วันที่ 25 ก.ค. 50